วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบดมินตันคู่ผสมไทยเเพ้พ่ายจีน 2 - 0 เกมส์ ที่ลอนดอนเกมส์ 2012



แบดมินตันผสม เวทีคู่เล่นของกลุ่ม - GRP D - จีน VS ไทย ไทยแพ้จีนไป 2 - 0 เกมส์ จบด้วยสกอร์ 21 - 18 และ 21 - 12 จากสนามกีฬา Wembley ที่ลอนดอน 2012 โอลิมปิกเกมส์ - 30 กรกฎาคม 2012 แบดมินตันผงาดขึ้นมาเป็นกีฬาสาธิตในโอลิมปิกเกมส์ 1972 ในมิวนิก จนกว่าปี 1992 เกมส์ในบาร์เซโลนา รวมอย่างเป็นทางการเมื่อโปรแกรมโอลิมปิกกับผู้ชายและหญิงเดี่ยวและคู่ ส่วนคู่ผสมเปิดตัวในปี 1996 ที่แอตแลนตาโอลิมปิกเกมส์ ตั้งแต่นั้นมายังคงไม่เปลี่ยนแปลง




น้องแต้ว พิมศิริ ศิริแก้ว คว้าเหรียญเงิน จากยกน้ำหนักรุ่น 58 กิลโลกรัม ที่ลอนดอนเกมส์ 2012

         
         กลุ่มยกน้ำหนักหญิง 58kg เหรียญแรกของไทย Gold: Xueying หลี่ (จีน) - Silver: พิมสิริ Sirikaew (ไทยแลนด์) - Bronze: Yuliya Kalina ไฮไลต์ (ยูเครน) ที่ลอนดอนเกมส์ 2012(London Game 2012) โอลิมปิก - 30 กรกฎาคม 2012 
         
         ถึงแม้ว่าน้ำหนักของผู้ชายได้เสมอในโปรแกรมของกีฬาโอลิมปิก - ยกเว้นที่รุ่น 1900, 1908 และ 1912 - หญิงเพิ่งเริ่มที่จะเข้าร่วมเท่านั้นในปี 2,000 เกมส์ในซิดนีย์ โปรแกรมการยกน้ำหนักโอลิมปิกที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไป วันนี้การแข่งขันในยกน้ำหนัก snatch and clean and jerk ของพวกเขาทั้งหมด จากกีฬาโอลิมปิกปี 2000 ในซิดนีย์, ผู้ชายที่มีการแข่งขันกันในแปดประเภทน้ำหนักและหญิงในเจ็ด รวมทั้งสิ้น 15 กิจกรรมนี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง 


        “น้องแต้ว” พิมศิริ ศิริแก้ว คว้าเหรียญเงิน จากยกน้ำหนักรุ่น 58 กิลโลกรัม หญิงได้สำเร็จ 

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รัชนก อินทนนท์ (หญิงเดี่ยว) ชนะ ธิลินี จายาซิง 2 เซตรวด



        รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันสาวไทย หญิงเดี่ยว ประเดิมเอาชนะ ธิลินี จายาซิง จากศรีลังกา 2 เซตรวดด้วยสกอร์ 21-13 และ 21-5

        โดยโปรแกรมนัดสุดท้ายรอบแบ่ง Group.M ของ รัชนก จะพบกับ เทลมา ซานโต๊ส จากโปรตุเกส วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 ตามเวลาไทย 19.42 น. ถ้าหากชนะจะเข้ารอบทันที เรามาร่วมเชียร์กันนะครับ ห้ามพลาด!!!

นักแบดมินตันไทย (ชายคู่) ชนะอินโดนีเซีย 2 เซตรวด





        Badminton Men's Doubles Group Play Stage - Grp B - Indonesia Vs Thailand Full Replay from the Wembley Arena at the London 2012 Olympic Games. 


Indonesia Vs Thailand : นักแบดมินตันไทย (ชายคู่) ไทยเราชนะไปด้วย 2 เกมส์ ด้วยเเต้ม สกอร์ 11 - 21 เเละ 16 - 21 ย้ำกับความดีใจสุดๆ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เชิญชวนชาวไทย ร่วมเชียร์นักแบดมินตันไทยขว้าชัยโอลิมปิก 2012





ค่ำคืนของวันที่ 24 ก.ค. 2555 ทัพนักแบดมินตันไทย ได้เดินทางสู่มหานครลอนดอนเพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันโอลิมปิก(olympic) 2012 ซึ่งในปีนี้ไทยเราได้สิทธิ์ในการเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 6 คน คือ บุญศักดิ์ พลสนะ, รัชนก อินทนนท์, มณีพงศ์ จงจิตร, บดินทร์ อิสระ, สุดเขต ประภากมล และ ร.อ.หญิงสราลีย์ ทุ่งทองคำ โดยมีคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานที่ปรึกษาสมาคมแบดมินตันฯ และในฐานะผู้จัดการทีมชาติไทยชุด ลอนดอนเกมส์ (London Game) ร่วมเดินทางไปด้วย การแข่งขันจะมีขึ้นในระหว่าง วันที่ 27 ก.ค.ถึง 12 ส.ค.2012 นี้


พวกเรามาร่วมพร้อมส่งใจไปช่วยเชียร์ที่ลอนดอน ในการแข่งขัน โอลิมปิก(olympic) 2012 ขอให้ได้เหรียญกลับมากันทั้ง 6 คนเลย ^^ ครับ

History of Badminton in Thailand


      
     พระยานิพัทธ์กุลพงศ์ (ชิน บุนนาค)
  กีฬาแบดมินตัน(Badminton) ได้แพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว มีปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2456 พระยานิพัทธ์กุลพงศ์ (ชิน บุนนาค) เป็นคนไทยรุ่นแรกที่สร้างสนามแบดมินตันให้ลูกหลานเล่นเป็นการออกกำลังในยามว่าง ณ บริเวณบ้านริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา

        ต่อมาหลวงชลาไลยกล เห็นว่าแบดมินตัน(Badminton) เป็นกีฬาที่ดี เหมาะกับคนไทย เล่นได้ทุกเพศทุกวัย จึงสร้างสนามเพิ่มขึ้นอีก และเล่นแบดมินตัน(Badminton)กันเป็นประจำในหมู่ญาติมิตรที่ตำบลสมเด็จเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน กีฬาแบดมินตัน เป็นที่นิยมเล่นกันในราชสำนักของไทยสมัย พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และสนามแบดมินตันในสมัยนั้นเป็นสนามกลางแจ้ง เวลามีลมพัดแรง หรือฝนตกก็เล่นแบดมินตันกันไม่ได้
คุณหลวงประคุณวิชาสนอง ได้จัดให้มีการแข่งขันแบดมินตันในราชวิทยาลัย แข่งขันในประเภทต่าง ๆ ต่อมาการแข่งขันได้แพร่หลายกว้างขวางออกไปอีก มีการแข่งขันประเภทสาม แข่งขันทั้งชายเภทชายสามและหญิงสาม ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันประเภทที่สำคัญที่สุด และประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการเล่นแบดมินตันประเภทสาม
        หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือสหพันธ์รัฐมลายู สามารถเอาชนะทีมชาติของยุโรป จนได้ครองตำแหน่งแชมเปี้ยนประเภททีมชายของโลก หรือโธมัสคัพ สร้างความตื่นเต้นให้แก่ประชาชาติเอเชียอย่างยิ่ง ที่ทีมจากเอเชียสามารถแข่งกีฬาจนเอาชนะชาติใหญ่ ๆ จากชาติตะวันตกได้ ท่ามกลางกระแสดังกล่าว ไทยได้เชิญนักแบดมินตันอันดับโลกของมลายู อาทิ ว่องเปงสูน อองโปหลิม อุยเต็คฮ็อค อิสเมล บิน มาร์จัน ฯลฯ เข้ามาสาธิตการเล่นกีฬาแบดมินตันมาตรฐานสากลในประเทศไทย เริ่มมีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานในร่ม มีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการเล่นแบดมินตันให้ดียิ่งขึ้น แต่การเล่นแบดมินตันของคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังเล่นกันนอกร่ม ต่อมาได้มีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานสากลแห่งแรกภายในบริเวณบ้านซอยพร้อมมิตรของ หลวงธรรมนูญวุฒิกร และ นางอวยพร ปัตตพงศ์ พร้อมทั้งได้เคี่ยวเข็ญฝึกฝนลูกหลานจนกระทั่งนักแบดมินตันไทยมีมาตรฐานการเล่นก้าวเข้าสู่ระดับโลก ลูกศิษย์แบดมินตันของ คุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร มีพื้นฐานการเล่นที่ถูกต้องแน่นแฟ้น และนำพาทีมชาติแบดมินตันโธมัสคัพไทยไปครองตำแหน่งชนะเลิศแห่งเอเชียใน ปี ค.ศ. 1957 เข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ Inter Zone ของโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กีฬาแบดมินตันของไทย ในปี ค.ศ. 1958 ท่านทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนเช้าเย็น ส่งเสริมปลุกปั้นพัฒนานักแบดมินตันไทยหลายคน อาทิ พินิจ ปัตตพงศ์ ประเทือง ปัตตพงศ์ อัจฉรา ปัตตพงศ์ ธนู ขจัดภัย เจริญ วรรธนะสิน บุบผา แก่นทอง สงบ รัตนุสสรณ์ บัณฑิต ใจเย็น ศิลา อุเลา ฯลฯ นักกีฬาเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งนั้น นักแบดมินตันหลายคนของท่านได้เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันออล-อิงแลนด์และครองตำแหน่งตำแหน่งชนะเลิศของโลกในการแข่งขันแบดมินตันนานาชาติจากหลายประเทศ เมื่อ หลวงธรรมนูญวุฒิกร ถึงแก่อนิจกรรม ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันของไทย

         ในปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระราชวงศ์จักรีชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ ได้พระราชทานและประทานพระอุปถัมภ์แก่กีฬาแบดมินตันอย่างเข้มแข็ง ในหลวงทรงเป็นองค์อุปถัมภกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันนั้นและทรงแบดมินตันด้วยพระองค์เอง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา(พระราชศักดิ์ในสมัยนั้น)ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมินตันไทยไปแข่งขัน ออล-อิงแลนด์ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 และที่ต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์สำคัญไม่เฉพาะแต่วงการแบดมินตันเท่านั้น แต่เป็นของวงการกีฬาเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระทานราชทุนการศึกษาส่วนพระองค์ให้แก่นักแบดมินตันทีมชาติไทย 


เจริญ วรรธนะสิน
      เจริญ วรรธนะสิน ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ยังความปลาบปลื้มของวงการกีฬาไทยอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะในยุคนั้นยังไม่มีหน่วยงานกีฬาของรัฐในปีต่อ ๆ มา พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมินตันไทยไปแข่งขันออล-อิงแลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรป พร้อมทั้งทรงประทานกำลังใจด้วยการเสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันอย่างใกล้ชิดทั้งในเอเชียและยุโรป ท่านพระองค์หญิงยังทรงสร้างสนามมาตรฐานขึ้นและก่อตั้งสโมสรแบดมินตันแร็กเก็ตมิวเซียมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 วงการแบดมินตันไทย ได้พัฒนาตัวเองจนเป็นสมาคมกีฬาชั้นนำสมาคมหนึ่งของประเทศไทย เป็นสมาคมกีฬาที่ส่งนักกีฬาไปแข่งขันต่างปรเทศมากที่สุดอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 วงการแบดมินตันเริ่มใช้แนวทางการตลาดสิทธิประโยชน์เข้ามาบริหาร เริ่มระบบการดึงผู้อุปถัมภ์รายการจากต่างประเทศเข้ามาแทนระบบบริจาคช่วยเหลือ เริ่มต้นจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์เซอร์โลกที่มีเงินรางวัลนับล้านบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นการพลิกโฉมวงการแบดมินตันไทยให้ก้าวทันการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของโลก
       กิจกรรมของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะดำเนินมาไกลถึงเพียงนี้ไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาสปอนเซอร์ต่าง ๆ ในต่างประเทศ เช่น โปร-เคนเน็ก โกเซ็น NEC ESPN ยูนิแคล และบริษัทห้างร้านภายในประเทศ เช่น ไทยออยล์ เบียร์สิงห์ เบียร์ช้าง มิตซูบิชิ และ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) ที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนของชาติ ได้ให้การ
สนับสนุนการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันยังคงให้การอุปถัมภ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดการแข่งขันชิงแชมเปี้ยนแบดมินตันประเทศไทย และแบดมินตันกรังด์ปรีซ์เอร์กิตโลก และโครงการ “ ไฟแห่งพุ่มไม้เขียว ” จากปี ค.ศ. 2004-2008
        กีฬาแบดมินตันได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในโปรแกรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ในปี ค.ศ. 1980 ที่เมืองมิวนิค เยอรมนี แต่ไม่ได้รับการบรรจุในทันที เนื่องจากเกิดการแตกแยกในวงการแบดมินตันของโลก จนกระทั่งได้รับการบรรจุอย่างเป็นทางการในบาร์เซโลนาเกมส์ที่สเปนถึงปี ค.ศ. 1992 แบดมิน
ตันได้กลายเป็นกีฬาโอลิมปิคเต็มตัวตั้งแต่นั้นมา
และนักแบดมินตันไทยได้ผ่านรอบควอลิฟายคัดเลือกเข้าสู่สายใหญ่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคทุกครั้ง ล่าสุด 6 นักแบดมินตันไทย เข้ารอบสายใหญ่ ลอนดอนโอลิมปิกเกมส์
ทีมแบดมินตันไทย ไปลอนดอนโอลิมปิกเกมส์
สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) ประกาศผลการจัดอันดับนักแบดมินตันที่ได้รับสิทธิ์ไปแข่งขันแบดมินตันโอลิมปิกเกมส์ โดยมีนักแบดมินตันไทยติดกลุ่ม 6 คนได้ในทุกประเภท ยกเว้นประเภทหญิงคู่ที่ได้แค่สำรองอันดับ 2
       วงการแบดมินตันไทยยังจะพัฒนาไปข้างหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง ตราบใดที่คนบริหารไม่นำพากีฬาแบดมินตันกลายเป็นเกมการเมือง มือสะอาด ไม่เข้ามาหาผลประโยชน์จากวงการ มีจิตวิญญาณที่รักและเห็นประโยชน์ของวงการแบดมินตันเป็นเป้าหมายสูงสุด ถ้าทำอย่างนี้ได้ ความเชื่อถือ ศรัทธา จากผู้ให้ความอุปถัมภ์ ก็จะไม่จืดจางถอยห่างจากวงการแบดมินตันอย่างแน่นอนครับ ^^


วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Origin of the shuttlecock


"Shuttlecock"
ภาพเขียนของจีน ซิมโมน ชาร์แดง (Jean-Baptiste-Simon Chardin )

      มีการค้นพบภาพเขียนของจีน ซิมโมน ชาร์แดง (Jean-Baptiste-Simon Chardin ) จิตรกรชาวฝรั่งเศส เกิดในกรุงปารีส ค.ศ. 1699 และมีอายุถึง 80 ปี เขาตาย ค.ศ. 1779 ภาพวาดของเขาค้นพบประมาณสองร้อยกว่าปีมาแล้ว ภาพนั้นมีชื่อว่า "Shuttlecock" หรือแปลว่า "ลูกขนไก่" จากภาพวาดนี้ทำให้ทราบว่า กีฬาตีลูกขนไก่ได้นิยมเล่นกันมาในยุโรป ภายใต้ชื่ออื่นมาหลายร้อยปีแล้ว ปัจจุบันภาพวาดนี้ตั้งไว้ให้ชมที่ Uffizi Gallery ในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ในภาพนี้ ได้แสดงให้เห็นวัตถุสำคัญ 2 อย่างที่ใช้เป็นเครื่องมือในเกมการเล่นที่เรียกว่า "Battledore and Shuttlecock" อันเป็นต้นกำเนิดของแบดมินตัน ลูกขนไก่ในภาพเขียนนี้ ฐานของลูกขนไก่คล้ายฐานของลูกขนไก่ในปัจจุบันนี้ ส่วนขนค่อนข้างใหญ่มีอยู่ 7 อัน แบ่งเป็นสีต่างๆ 4 สี คือ ขนสีขาว 3 อัน ขนสีน้ำเงิน 2 อัน ขนสีแดงอ่อน 1 อัน และขนสีน้ำตาลไหม้ปนเหลืองอีก 1 อัน ลักษณะของขนไก่ดังกล่าวนี้ ไม่แน่ใจว่าเป็นลักษณะของขนไก่ที่ใช้จริงหรือไม่ อาจเป็นจินตนาการของผู้เขียนภาพตกแต่งขึ้นก็ได้ และนอกจากนี้ขนเหล่านี้ยังไม่มีด้ายผูกร้อย เพราะฉะนั้นเวลาตีลูกทำให้ลูกแกว่งมาก สำหรับแร็กเก็ตนี้ มีลักษณะเทอะทะ ดูไม่ต่างจากแร็กเก็ตเทนนิสที่ใช้กันอยู่ในสมัยนั้นนัก โดยเฉพาะส่วนหัวแร็กเก็ตมีขนาดใหญ่โตมาก และหุ้มด้วยหนังสีแดงอย่างหนาแน่น เอ็นที่ร้อยกับแร็กเก็ตอยู่ในลักษณะค่อนข้างยาน มีเส้นตรงเพียง 7 แถว และเส้นขวาง 12 แถว ด้ามยาวมีวัตุสีขาวหุ้มพันอยู่จนถึงส่วนคอ ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นเครื่องยึดให้วงขอบแร็กเก็ตคงรูปอยู่ได้ อีกภาพเป็นภาพของจิตรกรชาวเดนมาร์ก ชื่อ เจคอบ มุนซ์ วาดเมื่อปี ค.ศ. 1813 และมอบให้สถาบันประวัติศาสตร์ แห่งอิดสโวลด์ ประเทศนอร์เวย์ เพื่อฉลองวันประกาศอิสรภาพของประเทศนั้น เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1814 ในภาพ คือ มกุฎราชกุมารเจ้าชายเฟรดเดอริค แห่งเดนมาร์ก กำลังเล่นเกมแบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่ และในปี ค.ศ. 1848 เจ้าฟ้าชายเฟรดเดอริค ได้ครองราชบัลลังก์ของเดนมาร์ก ในนามของพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ภาพนี้วาดในพระราชอุทยานเบิร์นดอร์ฟส์ เมื่อประมาณ 160 ปีมาแล้ว เป็นการยืนยันว่าได้มีการเล่นแบดมินตันภายใต้ชื่ออื่นในยุโรปสมัยนั้น เล่นกันโดยไม่แบ่งเขตแดน ไม่มีตาข่าย ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายช่วยกันพยุงไม่ให้ลูกตกดิน


เป็นยังไงกันบ้างครับได้รู้ความเป็นมาของลูกขนไก่ ตกใจกันบ้างรึป่าว หรือว่าแอบสงสัยแทน ^^ 

ประวัติความเป็นมาของแบดมินตัน

                                           



กีฬาแบดมินตัน(Badminton) มีการเริ่มเล่นที่เมืองปูนา (Poona) ประเทศอินเดีย โดยเล่นบนสนามหญ้า การเล่นครั้งแรกๆ ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกบอล ทำด้วยสักหลาด ไม้ตีทำด้วยไม้แต่เอากระดาษมาหุ้ม แทนการตึงด้วนเอ็นอย่างปัจจุบัน สนามก็มีลักษณะเหมือนนาฬิกาทราย คือไม่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่จะเว้าตรงกลาง การเล่นประเภทเดี่ยวยังไม่มี ตามธรรมดาในขณะนั้นการนิยมเล่นข้างหนึ่งไม่น้อยกว่า 4 คน หรือมากกว่านั้น ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1873 ทหารอังกฤษที่ไปรบที่ประเทศอินเดีย ได้นำเอาวิธีการเล่นนี้ไปเล่น ที่ประเทศอังกฤษ ณ คฤหาสน์ ชื่อ แบดมินตันเฮาส์ (Badminton House) ของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ด (Duke of Beaufort) เป็นคฤหาสน์ที่ใหญ่โตกว้างขวาง มีเนื้อที่ถึง 10 ไมล์ ต่อ ๆ มาการเล่นแบบนี้เลยได้ชื่อว่า "แบดมินตัน" ตามชื่อคฤหาสน์ดังกล่าวตั้งแต่นั้นมา...กีฬาแบดมินตัน เริ่มแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรป อเมริกา และเอเชีย อย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ.1893 ประเทศอังกฤษได้ก่อตั้งสมาคมแบดมินตันขึ้น เรียกว่า "สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ" ทางสมาคมได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้น คือใช้ขนาดกว้าง 22 ฟุต และยาว 44 ฟุต ซึ่งเป็นสนามมาตรฐานประเภทคู่ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ตั้งแต่นั้นมา ก็มีการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณ์การเล่นให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ในที่สุดก็มีไม้ตีที่มีเอ็นขึง อย่างปัจจุบัน และลูกขึ้นไก่ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1900 ต่อมาก็ได้รับความนิยมแพร่หลายมาทาง ประเทศอาคเนย์ ประเทศต่างๆ ที่นิยมเล่นแบดมินตันมาก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในปี ค.ศ. 1934 สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ และสมาคมแบดมินตันแห่งอื่นๆ อีก 8 ประเทศ ได้ก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติขึ้น มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ทางสหพันธ์ ได้ร่างกติกา และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ขึ้น ปัจจุบันนี้มีสมาชิกมากกว่า 60 ประเทศ
ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหพันธ์ในปลายเดือนมีนาคม 1951 ประธานสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติคนแรก คือ เซอร์ ยอร์จ โธมัส (Sir George Thomas) เขาเป็นนักแบดมินตันฝีมือดีของอังกฤษ และได้บริจาคถ้วยโธมัส (Thomas Cup) ทำด้วยทองราคาห้าพันปอนด์ สำหรับผู้ชนะเลิศในการแข่งขัน ชนะเลิศนานาชาติในปี ค.ศ. 1936 แต่ไม่มีการแข่งขัน เพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งสงครามยุติ
การแข่งขันชิงถ้วยโธมัสครั้งแรกเริ่มในปี ค.ศ. 1948 ถึง ค.ศ. 1949 นอกจากถ้วยโธมัสแล้ว ยังมีการแข่งขันถ้วยอูเบอร์ (Uber Cup) ซึ่งเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศนานาชาติ สำหรับสตรี โดย มิซซิส เอส อูเบอร์ เป็นผู้บริจาคถ้วย เธอเป็นอดีตนักแบดมินตันหญิงทีมชาติของอังกฤษ การแข่งขันนี้เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1950


กีฬาแบดมินตัน(Badminton)ได้แพร่หลายขึ้น แม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่น    เเบดมินตันอย่างกว้างขวางและมีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ใน การแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์ (ซีเกมส์ในปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักภพสหราชอาณาจักร รวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบดมินตัน (BADMINTON)



แบดมินตัน (BADMINTON) แบดมินตันเป็นกีฬาที่มีผู้นิยมเล่นมากทั้งชายและหญิง ใครก็สามารถเล่นได้ โดยการตีลูกขนไก่ ให้ข้ามตาข่ายไปมาในสนามแบดมินตันเท่านั้นเองนี้ก็อยู่ในขั้นพื้นฐานการเล่นแบดมินตัน แต่ถ้าจะเล่นให้เก่งจะต้องมีความสนใจจริงๆ และตั้งใจฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ(ย้ำ) เท่านั้นก็จะบรรลุความสำเร็จตามที่มุ่งหวังได้ แบดมินตัน (BADMINTON) สามารถเล่นได้ตลอดเวลา เป็นกีฬาที่เล่นได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม เช่น โรงฝึกพลศึกษา ถ้าเล่นกลางแจ้ง ต้องใช้ลูกขนไก่ที่มีน้ำหนักมากเป็นพิเศษ เพราะสามารถฝ่ากระแสลมได้ ส่วนการเล่นแบดมินตันในเวลากลางคืน จะต้องใช้แสงสว่างพอสมควร และต้องจัดให้ถูกต้องเหมาะสม โดยต้องเลือกดูว่าจะจัดไว้ที่ใดบ้าง จึงจะมีแสงสว่างและไม่ขัดกับการเล่น แบดมินตัน (BADMINTON) จะทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เพราะได้พบปะกับบุคคลหลายๆ ฝ่าย ทำให้เป็นผู้ที่มีสังคมดี ทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีพลานามัยดี และเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่งด้วย เป็นยังไงกันบ้างครับแค่พูดถึง แบดมินตัน (BADMINTON) ก็อยากจะเล่นแล้วใช่ไหม? งั้นเราก็มาเล่นกันครับ ^^