วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ทักษะเบื้องต้น (Basic Skills)


                                                        
การจับแร็กเก็ต
การจับแร็กเก็ตมีความสำคัญมาก เพราะว่าถ้าจับถูกต้องแล้วจะสามารถตีได้ดีทั้งลูกหน้ามือและหลังมือ วิธีจับแร็กเก็ตให้ถูกสุขลักษณะ ผู้เล่นควรจับด้ามแร็กเก็ตแบบจับมือกัน (Shake hand) หรือจับแบบ วีเชป (V-Shape) ด้วยมือข้างที่ถนัด กำมือไม่แน่นหรือหลวมเกินจนเกินไป ให้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย และนิ้วหัวแม่มือกำด้ามแร็กเก็ตเรียงเป็นแนว 45 องศา ส่วนการจับไม้แบบหลังมือนั้นจะจับแบบเดียวกันก็ได้ หรือขยับนิ้วหัวแม่มือขึ้นทาบไปกับด้ามไม้เป็นเส้นตรงกับด้านข้างของด้ามไม้ขณะตีก็ได้
การบังคับแร็กเก็ต
เมื่อจับแร็กเก็ตมั่นคงดีแล้ว ลองหัดเหวี่ยงไม้ไปข้างหน้า ข้างหลัง ซ้าย และขวา หัดใช้ข้อมือพร้อม ๆ กันไปด้วย จะเห็นว่าแรงที่มานั้นจะมาจาก
แรงเหวี่ยงของแขน
แรงตวัดของข้อมือ
การเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า
การตีลูกขนไก่การฝึกตีลูกขั้นต้นให้หัดตีลมไปก่อน ความมุ่งหมายก็เพื่อฝึกการใช้ข้อมือ เพราะแบดมินตันเป็นกีฬาที่ใช้ข้อมือ ขณะ ขณะเดียวกันต้องหัดฟุตเวอร์ค เพื่อฝึกความว่องไวของเท้า วิธีฝึกโดยให้ยืนอยู่กึ่งกลางสนามแล้วเคลื่อนที่โดยการสไลด์ไปทางซ้าย ขวา ข้างหน้า และถอยหลังสลับกันไป ขณะสไลด์ให้ฝึกเหวี่ยงแร็กเก็ตตามไปด้วย บางครั้งทำท่าคล้ายกับการวิ่งเข้าไปรับลูกที่ฝ่ายตรงกันข้ามตีมาในทิศทางต่าง ๆ เมื่อเสร็จจากการวิ่งแต่ละครั้งให้วิ่งกลับมายืนที่เดิม ให้พยายามทรงตัวให้ดี สายตาจับอยู่ที่ลูก การตีควรตีลูกกลับไปยังเป้าหมายที่ห่างตัวผู้รับให้มาก และตีไปในที่ปลอดภัยที่สุดที่ฝ่ายรับจะโต้กลับมาไม่ได้ หรือฝ่ายรับมีโอกาสจำกัดในการรับลูก การตีลูกจากทางด้านเดียวกันกับมือที่ถือแร็กเก็ต เรียกว่า การตีลูกหน้ามือ (Forehand Stroke) ขณะที่ตีลูกเท้าซ้ายจะวางข้างหน้าเท้าขวา ส่วนการตีลูกจากทางด้านตรงกันข้ามกันกับมือที่ถือไม้ เรียกว่าการตีลูกหลังมือ (Backhand Stroke) ขณะที่ตีลูกเท้าขวาจะวางข้างหน้าเท้าซ้าย และหันไหล่ขวาเข้าหาตาข่าย

ฟุตเวอร์ค (Footwork) 
การก้าวเท้าจากท่าเตรียมพร้อมต้องทำให้รวดเร็ว จากท่าเตรียมพร้อมจะยืนเท้าแยกให้ห่างพอสมควรประมาณ 18 นิ้ว ให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหน้า ย่อตัวเล็กน้อย ถ้าถือแร็กเก็ตมือขวาจะยืนโดยให้เท้าซ้ายอยู่ข้างหน้าเล็กน้อย มือยกแร็กเก็ตสูงขึ้น พร้อมที่จะตีลูกได้ทันที ผู้เล่นต้องวางเท้าให้ถูกในการตีลูกแต่ละแบบ มีข้อแนะนำบางประการสำหรับฟุตเวอร์คของผู้เล่นแบดมินตันคือ
อยู่ในท่าเตรียมพร้อมตลอดเวลา
เมื่อจะตีทางด้านที่มือถือแร็กเก็ต ให้หมุนตัวโดยใช้เท้าที่เป็นหลักก้าวเข้าไปตีลูก ให้เท้าขวานำและให้ด้านซ้ายชี้เข้าหาตาข่ายขณะตี
เมื่อพยายามจะตีลูกใด ๆ ก็ตามอีกด้านหนึ่งให้หมุน หรือหันมาทางซ้ายโดยใช้ปลายเท้าทั้งสองเป็นหลัก เวลาตีไหล่ขวาจะชี้เข้าหาตาข่าย
การกระโดดหรือสไลด์เป็นสิ่งสำคัญในการเคลื่อนที่ให้เร็วในการเล่นแบดมินตันอย่ายืนแข็งทื่อขณะรอลูกที่ลอยมา เพราะจะทำให้เคลื่อนที่ได้ช้า

การจับลูกขนไก่
การส่งลูกเป็นการเล่นตีจากด้านล่าง จะตีได้ทั้งลูกหน้ามือและหลังมือ แต่นิยมส่งลูกด้วยหน้ามือมากกว่า เพราะเป็นการส่งที่มีประสิทธิภาพมาก
ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการส่งลูก พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
ยืนห่างเส้นกลางสนาม 2-3 นิ้ว และยืนห่างเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 ฟุต
ยืนให้เท้าซ้ายอยู่ข้างหน้าสำหรับคนถนัดตีมือขวาให้ย่อเข่าเล็กน้อย ขณะส่งลูกให้จำไว้ว่าเท้าทั้งสองต้องแตะพื้นสนาม
สมมุติส่งลูกหน้ามือ ถือไม้มือขวา
ใช้มือซ้ายจับลูกขนไก่ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับตรงฐานของลูกขนไก่
เหยียดแขนซ้ายขึ้นเป็นเส้นทแยงกับลำตัวสูงระดับไหล่
เหวี่ยงไม้ไปข้างหลังสูงระดับข้อมือ หรือสูงกว่านั้น
ขณะที่เหวี่ยงไม้กลับมาข้างหน้า ให้ปล่อยลูก จุดที่แร็กเก็ตกระทบลูกจะอยู่ระหว่างหัวเข่าและข้อมือ ระหว่างส่งลูกตอนแรก น้ำหนักตัวจะอยู่ที่เท้าหลังก่อน พอส่งลูกไปแล้วน้ำหนักตัวจะกลับมาอยู่ที่เท้าหน้า เพื่อตามลูกไป
การตามลูก (Follow-Through) เป็นสิ่งสำคัญมากจะตามลูกไปในทิศทางขึ้นข้างบนหรือไปในทิศทางที่ต้องการให้ลูกไปตก ถ้าตามลูกน้อยไปลูกจะไปตกไม่ถึงที่ต้องการ
การส่งลูกเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำคะแนนได้ ควรส่งลูกอย่างมีเป้าหมายให้ตกในที่ฝ่ายรับจะรับได้ลำบาก เวลาส่งควรยืนให้เท้าซ้ายอยู่ข้างหน้า จับลูกขนไก่ด้วยมือซ้ายสำหรับคนถนัดขวา ค่อย ๆ ปล่อยลูกขนไก่ให้ได้จังหวะเดียวกับที่มือขวาเงื้อแล้วตีลูกข้ามตาข่ายไปตกตามต้องการ

ข้อควรระวังในการส่งลูกมิให้ผิดกติกา คือ
ขณะส่งลูก ผู้เล่นต้องยืนในแดนที่ถูกต้อง เท้าทั้งสองต้องไม่เหยียบเส้นใดเส้นหนึ่ง
ขณะที่แร็กเก็ตกำลังสัมผัสลูก เท้าทั้งสองต้องอยู่ติดพื้นสนาม จะยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งพ้นพื้นสนามไม่ได้
หัวแร็กเก็ตต้องอยู่ต่ำกว่าปลายมืออย่างเห็นได้ชัด ถ้าหัวไม้อยู่ระดับปลายมือถือแสดงว่าเป็นการส่งลูกผิดกติกา

วิธีส่งลูกในการเล่นประเภทเดี่ยว
ในการเล่นประเภทเดี่ยวนิยมส่งลูกโด่ง แต่ก็จะส่งลูกโด่งในการเล่นประเภทคู่ได้บ้าง การส่งลูกโด่งก็คล้าย ๆ กับการส่งลูกสั้น แตกต่างกันที่ การส่งลูกโด่ง ต้องใช้แรงและกำลังมากกว่า เพื่อให้วิถีของลูกลอยโด่งไปตกใกล้เส้นหลังในการเล่นประเภทเดี่ยว และให้ลูกลอยไปตกใกล้เส้นส่งลูกยาวในการเล่นประเภทคู่ การรับลูกควรยืนอยู่กลางสนามและคอยสังเกตุการยืนของผู้ส่งลูกว่าจะส่งมาทิศทางใด และควรเปลี่ยนวิธียืนรับให้ค่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังมาเล็กน้อย แล้วแต่จะเหมาะสมที่จะมีโอกาสตีโต้กลับไปและทำคะแนนได้

วิธีส่งลูกในการเล่นประเภทคู่
นิยมส่งลูกสั้น เพราะใช้แรงเพียงเล็กน้อยให้ลูกเฉียดตาข่าย สูงกว่าตาข่ายประมาณ 1-8 นิ้ว การส่งลูกสั้นจะบังคับให้ผู้รับตีกลับมาด้วยลูกสั้นหรือลูกโด่ง ซึ่งทำให้ฝ่ายส่งลูกตบหรือตีทำคะแนนได้ จุดที่ควรส่งลูกสั้น คือ มุมทั้งสองข้างของสนามฝ่ายรับ เมื่อส่งลูกไปแล้วผู้ส่งควรรีบวิ่งตามลูกเข้าไปใกล้ตาข่าย เพื่อป้องกันมิให้อีกฝ่ายตีลูกสั้นกลับมา ส่วนคู่ของผู้ส่งจะครอบครองเนื้อที่ด้านหลังของสนาม เพื่อมิให้มีพื้นที่ว่าง

การรับลูก 
เมื่อฝ่ายส่งลูกส่งลูกข้ามตาข่ายมา ฝ่ายรับจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะเกมการเล่นอยู่ภายใต้การบังคับของฝ่ายส่งลูก ไม่ว่าฝ่ายส่งลูกจะส่งมายังจุดใดก็ตาม ฝ่ายรับจำเป็นต้องรับ และพยายามตีลูกให้ข้ามไปตามจุดที่ฝ่ายตนจะได้เปรียบ การรับลูกต้องคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเป้าหมายการตีของฝ่ายส่งลูกหรือฝ่ายที่ตีโต้กลับมา และการรับลูกต้องตีไปยังจุดที่ห่างตัวอีกฝ่ายหนึ่งให้มากที่สุด ยิ่งตีห่างมากเท่าใด อีกฝ่ายจะมีเวลาจำกัดและตกเป็นฝ่ายรับทันที การรับลูกในเกมแบดมินตัน ไม่ควรตื่นเต้นและรีบร้อน ควรจะควบคุมสติให้มั่นคงตั้งรับโดยไม่กลัวเกรงว่าจะเป็นลูกแบบใหน มีหลักในการรับลูกที่ควรทราบดังนี้ คือ
ยืนอยู่ในสนามด้านของตน
ยืนคอยจนผู้ส่งลูก ส่งลูกข้ามมา
ไม่หลอกล่อ หรือบัง หรือรบกวนผู้ส่งลูก
ไม่ทำชักช้าถ่วงเวลาผู้ส่งลูก ทำให้ผู้ส่งลูกเสียเปรียบ
ในการเล่นประเภทคู่ คู่ของผู้รับจะต้องไม่รบกวนผู้ส่งลูก มอฉะนั้นฝ่ายรับจะเสียคะแนนทันที

การรับลูกในการเล่นประเภทเดี่ยว
ควรยืนรับโดยห่างจากเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2 ฟุต ในท่าเตรียมพร้อม เงื้อไม้สูงพยายามวิ่งเข้าหาลูก อย่าปล่อยให้ลูกลอยเข้าหาตัว ถ้าลูกมาโด่งให้ฟุตเวอร์คถอยหลังกลับไปตีลูกด้วยลูกตบหรือลูกตัดหยอด หรือโยนมุมหลัง ถ้าส่งลูกมาต่ำจะแย็บหรืองัดโด่งไปสองมุมหลัง หรือหยอดสูงมุมหน้าก็ได้

การรับลูกในการเล่นประเภทคู่ 
ฝ่ายส่งมักจะส่งลูกดสดเฉียดข้ามตาข่ายมา การยืนรับลูกควรยืนใกล้เส้นส่งลูกสั้น และพยายามที่จะหาทางตีโต้กลับไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ฝ่ายส่งแก้สถานการณ์ได้ยาก
การรับลูกในการเล่นประเภทคู่ จะต้องพยายามตีลูกกดลงให้ต่ำไว้เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นฝ่ายรับ อาจรับด้วยลูกดาด ลูกหยอด และลูกทแยงสนามให้ข้ามตาข่ายไป 

เทคนิคการเล่นแบดมินตัน ประเภทคู่


เทคนิคการเล่นแบดมินตันประเภทคู่ เป็นทีมเวอร์ค สำหรับผู้มีพื้นฐานมาบ้างแล้ว เพื่ออาจมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย คิดว่าเป็นการเล่าสู่กันฟัง ผิดถูกประการใด ได้กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
เกริ่นนำตั้งแต่พื้นฐานเล็กน้อย 


1 การจับไม้ 

อันนี้พูดยากมาก ควรจับให้อยู่สมดุลกลางระหว่าง แบคแฮน และ โฟแฮน  การจับไม้ที่ผิดวิธีอาจดูไม่เป็นไร ในตอนเริ่มต้น แต่ถ้าตีไปสักพักแล้ว รู้สึกว่า ตบไม่แรงสักที แสดงว่า ท่านไม่มีการส่งแรงผ่านข้อมือ ในจังหวะสุดท้าย หรือ ท่านมีอาการปวดไหล่ ก็แสดงว่าท่าน ตีผิดวิธี แต่การจับไม้ก็ไม่ได้ตายตัวเสมอไป การจับไม้ที่ดี ต้องตั้งฉากกับลูก ถ้าเน้นแรง ถ้าเน้น วาง ก็ใช้เฉือนเอา บางท่านจึงสอนว่า อย่าจับไม้แน่นมาก ให้จับหลวมๆ เพราะขึ้นอยู่กับจังหวะหรือมุมในการตีด้วย

2 การตีที่ถูกวิธี ได้ทั้งพลังและทิศทาง 
มีคนบอกว่า ตบไม่แรงเพราะไม่มีข้อมือ อันนั้นไม่จริงเสมอไป อันที่จริงเกิดจากการส่งผ่านแรงไปให้ทุกส่วนและความสมดุลของโมเมนตั้มการเหวี่ยง ต่างหาก เริ่มตั้งแต่  1 การใช้แขนซ้ายช่วยในการเหวี่ยงหรือบิดตัว จากข้างหน้าไปข้างหลัง 2 แขนขวาที่จับไม้อยู่ก็ถูกเหวี่ยงจาก หลังมาหน้า 3 คิดอยู่เสมอว่าคือการเหวี่ยงไม้เป็นวงกลม ใครยืดแขนได้ไกลสุด แรงจะเกิด มากสุด ฉะนั้น ครูบางท่านจีงย้ำเสมอว่า มือให้ตึง เวลาตีลูก 4 เมื่อไม้โดนลูกแล้ว ไม่ควรหยุด ควรเหวี่ยงต่อเพื่อส่งกำลัง ต่อให้ครบการเหวี่ยง โดยจังหวะสุดท้ายก็จะมาจบด้วยการออกแรงที่ข้อมือ  ฉะนั้น คิดเสมอว่าเป็นการเหวี่ยง เหมือนเล่นกอล์ฟ ทุกครั้ง การตีแบลคแฮนก็เหมือนกัน ถ้าแขนไม่ตึงแล้ว ไม่มีทางที่ลูกจะไปไกลได้
ข้อควรระวัง: ในการตีลูกโดยมือตึงสูงสุดนั้น ลูกก็ต้องอยู่ สูงสุดที่มือเอื้อมถึงเช่นกัน
                    

  หน้าไม้ก็สำคัญ ถ้าจะตีแรง หน้าไม้ต้องตั้งฉากกับลูกเสมอ มีบางคนตบแบบเฉือนๆ จะไปแรงได้ไง

3 เสต็บเท้า ของการเล่นเดี่ยว ไปได้ทั้งหน้าและหลัง มีหลักดังนี้
                1 ต้องยืนที่กลางคอร์ด ห้ามเอียงไปด้านไดด้านหนึ่ง
                2 เอาเท้าขวามาอยู่หน้า  เวลาไปข้างหน้า ให้ก้าวเท้าซ้าย และ ตามด้วยขวา (2 ก้าว)
                                                เวลาไปข้างหลัง ให้ก้าวเท้าขวาไปข้างหลัง ตามด้วยซ้าย และ ขวา (3ก้าว)
                จะเห็นได้ว่า การก้าวไปข้างหลังใช้ จำนวนก้าว มากกว่า ไปข้างหน้า เพราะ ว่า ลูกไปข้างหลังย่อมใช้เวลานานกว่าไปข้างหน้า นั่นเอง

4 การเสริฟสำหรับการเล่นเดี่ยวควรยืนเสริฟที่กลางคอร์ด
การเล่นคู่ แบ่งเป็น 2 ประเภท 


1 การที่ฝ่ายเราได้ลูกเสริฟ หรือ การบุก
2 การที่ตรงข้ามได้ลูกเสริฟ หรือ การรับ

1 การที่ฝ่ายเราได้ลูกเสริฟ หรือ การบุก 
เราได้เสริฟ  ควรเสริฟสั้นโดยไปยืนตรงตัว T  ข้างหน้าเลย พยายามเสริฟ ให้สั้น โดยหวังว่า คู่ต่อสู้จะงัดลูกขึ้น ไปให้เพื่อนที่อยู่ข้างหลัง ตบได้ง่ายๆ 
อาจมีพวกรู้ทัน หยอดกลับ ไม่ยอมโยนขึ้น ให้คนเสริฟ วิ่งไป รับลูกนั้น โดยการแย๊บ ถ้าไม่ได้จึงค่อยโยนขึ้น
พึงระวังไว้ว่าใครโยนขึ้นฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายรับแล้ว
และมีพวกรู้ทันที่เก่ง จะแย๊บลูกเสริฟเราทันทีที่เราเสริฟลูกสั้นไป ทีนี้จะแก้โดนให้เพื่อนตีสวนกลับไปทันที โดยเพื่อนก็ต้องมายืน ตรงกลางคอร์ดเลย ข้างหลังคนเสิรฟ นั้นเอง ห่างกันนิดเดียว สาเหตที่ไม่ไปยืนอยู่หลังเลย เพราะกลัวจะรับลูกแย๊บไม่ได้ เพราะลูกแย๊บส่วนมากจะสั้นนั่นเอง
เทคนิค –อย่าพยายามโยนลูกขึ้น ไปข้างหลัง หรือในลักษณะ การงัดขึ้น ในทุกกรณี เว้นลูกหยอด
-          การตีลูกหยอด ควรตีตั้งแต่ลูกอยู่บนหัวเนตเลย ไม่ควรรอให้ต่ำลงมาก่อนค่อยตี
-          การเล่นลูกวางหรือ หยอดจากท้ายคอร์ด ควรตีในจังหวะที่ลูกสูงที่สูด เพราะลูกจะมีมุมสูง จะชิดเนตมากๆ
-          ถ้าเพื่อน เล่นลูกหยอดจากท้ายคอร์ด ให้เราวิ่งไปเซฟลูกหยอดกลับจากฝ่ายตรงข้ามทันที โดยจะแย๊บ หรือ จะหยอดเฉียงไปอีกมุมก็ได้ ไม่จำเป็น ห้ามโยนขึ้น
-          ถ้าเราได้ลูกโยนขึ้นจากฝ่ายตรงข้ามมาให้ และเพื่อนช่วยเซพ อยู่ข้างหน้าแล้ว ให้ตบเท่านั้น ตบไม่ได้ให้ เล่นลูก หยอดวางไปข้างหน้า ไม่ควร โยนโด่งกลับไป

2 การที่ตรงข้ามได้ลูกเสริฟ หรือ การรับ 
ตั้งรับโดยการยืนซ้ายขวา รักษาพื้นที่กัน 

หน้าใคร ใครรับ
หลังใคร ใครรับ
โดนตบ รับกันเอง
โดนตบมาตรงกลางระหว่าง 2 คน ตัวใครตัวมัน ใครรับได้รับ
ได้ลูกโยนมาตรงกลาง คนด้านซ้าย ตี
การรับลูกเสริฟ  มือขวาชูด้านบน พยายามเย๊บลูกเสริฟหยอดให้ได้ โดยไปยืนข้างหน้าเลย เอาขาซ้ายนำ พอจะตีให้ก้าวเท้าขวาไป และแย๊บ
ระวังเจอพวก เสริฟโยน ขึ้น อันนี้ต้องก้าวถอยหลังมา ซ้ายขวา และกระโดดขึ้นทันที  มือขวาชูด้านบนไว้ตลอด เพราะกลัวไอ้พวกโยนนี่หละครับ


วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการเล่นแบดมินตัน (ขั้นพื้นฐาน VDO ประกอบ)

สอนเทคนิคการเล่นแบดมินตัน ขั้นพื้นฐาน มากมายที่เผยแพร่อยู่ทางอินเตอร์เนต มาจากหลายชาติหลายภาษา แต่ที่เห็นว่าน่าสนใจที่สุดเพราะเข้าใจง่ายดี คือ ภาษาอังกฤษ ^^ อีกทั้งมีภาพกราฟฟิกประกอบอย่างละเอียดเป็นขั้นตอน
ผมเลยรวบรวมมาไว้ในบล็อกนี้เผื่อมีคนที่สนใจจะเรียนรู้จะได้เอาไปดู ส่วนคนไหนฝีมือระดับอาชีพแล้วก็ข้ามไปได้เลยครับ... สู้ๆ สำหรับน้องๆ ที่ต้องมาเรียนพื้นฐานการเล่นเเบดมินตันครับ


มาเริ่มการสอนกันเลย...
1.Forehand Smash


2Forehand High Serve


3.Backhand clear



4.Forehand net shot



5.Forehand net kill



6.Low Serve



7.Forehand doubles long defense



8.backhand Drop



9.Forehand Net Lift



10.Forehand Drive



11.Forehand Drop



12.Forehand Clear



เป็นยังไงบ้างครับน้องๆ ดูเเล้วพอจะได้เทคนิคการเล่นแบดมินตันกันบ้างรึป่าว .... เเต่ตอนนี้ผมขอไปซ้อมบ้างดีกว่าไม่ได้เล่นนานเเล้วคงต้องเหนื่อยมากๆ เเน่เลย ^^

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มารยาทของผู้ชมและมารยาทในการแข่งขัน


มารยาทของผู้ชม การแข่งขันแบดมินตัน
1.
อย่าปรบมือหรือส่งเสียงเชียร์ ในระหว่างที่ผู้เล่นกำลังตีลูกโต้ตอบกันอยู่ ควรปรบมือส่งเสียงเชียร์เมื่อลูก "เสีย" แล้ว
2.
อย่าเชียร์หรือส่งเสียงดังจนเกินไป
3.
อย่าลุกเดิน หรือเคลื่อนไหวไปมาระหว่างที่ผู้แข่งขันกำลังเล่นอยู่ ถ้าจำเป็นควรเดินหรือเคลื่อนไหวเมื่อลูก "เสีย" หรือเมื่อเปลี่ยนข้างตอนจบเกมแล้วเท่านั้น
4.
อย่าโห่ฮาป่าผู้ตัดสินหรือกรรมการกำกับเส้น หากเขาทำหน้าที่ผิดพลาด ในระหว่างที่นักกีฬากำลังเล่น ถือว่าเป็นการแสดงมารยาทอันดีของผู้ชม
5.
ไม่ควรร้องบอกฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดว่าลูกดีหรือลูกออก เพราะจะเสียความเป็นธรรมแก่อีกฝ่ายหนึ่ง และเป็นการแสดงมารยาทอันไม่สมควรออกมาให้ผู้อื่นเห็น

มารยาทในการแข่งขัน
มารยาทในการแข่งขันแบดมินตันนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่นักแบดมินตัน จะต้องเรียนรู้และยึดถือเพื่อเป็นแนวปฎิบัติ เพราะมารยาทจะเป็นสิ่งเดียวที่แสดงให้เห็นโดยเด่นชัดว่าผู้ใดเป็นนักกีฬาแบดมินตันที่แท้จริง สำหรับการแข่งขันแบดมินตัน มีมารยาทและสิ่งที่จะต้องประพฤติปฎิบัติอยู่หลายประการคือ
1.จะต้องเป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา พร้อมที่จะอภัยแก่ความผิดพลาดทุกอย่าง โดยไม่คำนึงถึงผลแพ้ชนะเป็นสิ่งคัญมากจนเกินไป
2.ไม่เอาเปรียบคู่แข่งขันในการเสี่ยง ให้โอกาสคู่แข่งขันเป็นผู้เลือกก่อน
3.ชมเชยเมื่อฝ่ายตรงกันข้ามหรือคู่ตบลูกได้แม่นยำ หรือเล่นลูกได้สวยงาม
4.ใช้คำพูดที่สุภาพ รู้จักขอบคุณเมื่ออีกฝ่ายเก็บลูกให้
5.ต้องพยายามควบคุมสติและอารมณ์ของตนเองให้มั่นคงอยู่เสมอ
6.ขณะที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ หากจำเป็นต้องหยุดพัก ต้องขออนุญาตผู้ตัดสินก่อนทุกครั้ง
7.ไม่ควรเปลี่ยนลูกบ่อยจนเกินไป ต้องรอให้มีสภาพที่ผิดปกติจริงๆ และขออนุญาตคู่แข่งขันและกรรมการผู้ตัดสินเสียก่อน
8.ไม่ควรส่งลูกลอดใต้ตาข่ายไปให้คู่แข่งขัน เพราะถือว่าขาดมารยาทอย่างรุนแรง
9.เมื่อการแข่งขันสุดสิ้นลง ถ้าแพ้ต้องรีบเข้าไปแสดงความยินดีกับคู่แข่งทันที แต่ถ้าชนะต้องไม่แสดงกิริยาดีใจมากเกินไป
10.ยอมรับและเชื่อฟังกรรมการผู้ตัดสิน ไม่โต้แย้งคำตัดสินของกรรมการ

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Benefits and features of badminton

                                 
ประโยชน์ของกีฬาแบดมินตัน
แบดมินตันก็เช่นเดียวกับกีฬาชนิดอื่น ๆ ที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้เล่นแยกเป็นข้อ ๆ ดังนี้
- ทำให้มีพลานมัยสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
- ทำให้มีสายตาและการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วว่องไว ทำให้เป็นผู้ที่มีความสามารถคาดการณ์หน้าได้

- ทำให้เป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา ทำให้รู้จักแบ่งหน้าที่และรักษาหน้าที่

- มีการร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี ทำให้เป็นคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้จักให้อภัย

- ทำให้เป็นผู้ที่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

คุณสมบัติของผู้เล่นแบดมินตัน
แบดมินตันเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยความอดทน อดกลั้น ทั้งกำลังกายและกำลังใจ นอกจาก ผู้เล่นจะต้องมีสมรรถภาพทางร่างกายดีและควรต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- มีความสนใจอย่างแรงกล้า มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และหาวิธีการเล่นใหม่ ๆ อยู่เสมอ

-  มีความต้องการใกห้ตนเองมีความสามารถเพิ่มขึ้น มีสายตาปกติและสามารถเคลื่อนไหวตัวได้รวดเร็ว

- มีร่างกายอ่อนตัวดี ยืดหยุ่นได้ดี สามารถใช้มือและแร็กเก็ตให้สัมพันธ์กันได้ดี

- มีความเข้าใจในวิธีการเล่นอย่างแจ่มแจ้ง มีร่างกายสมบูรณ์ จิตใจผ่องใส และมีพลังจิตที่เข้มแข็ง

- มีระเบียบวินัยที่ดี และมีความรับผิดชอบสูง เชื่อฟังและปฎิบัติตามคำแนะนำของผู้ฝึกสอนอย่างเคร่งครัด

คุณสมบัติทางด้านจิตวิทยา
นอกจากผู้เล่นแบดมินตันจะต้องมีคุณสมบัติทางกายอย่างดีแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติทางด้านจิตวิทยา เป็นอย่างดี ซึ่งคุณสมบัติทางด้านจิตวิทยานี้ จะช่วยให้การเล่นแบดมินตันประสบผลสำเร็จ!

-  ผู้เล่นแบดมินตันจะต้องมีความคุ้นเคยกับทักษะเกมการเล่น ซึ่งจะมีทั้งช้าและเร็ว

-  มีการเคลื่อนไหวทางกลไกของร่างกายเป็นอย่างมาก จะต้องเข้าใจในการฝึกหัด

- รู้จักวิเคราะห์และยอมรับสถานการณ์ในการแข่งขันต่าง ๆ ด้วย

- จะต้องยอมรับและเรียนรู้วิธีการเล่นแบดมินตัน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตท่าน ต้องพยายามเล่นให้ประสบผลสำเร็จทั้งที่เป็นกลุ่มและเดี่ยว จะต้องเข้าใจสถานการณ์แข่งขัน พยายามรักษาจุดที่ทำให้ชนะไว้ และต้องรู้จักแก้ไขจุดที่เสียคะแนนได้

- จะต้องพยายามรักษาแรงกระตุ้นหรือสิ่งเร้าให้มีมากอยู่เสมอ และพร้อมที่จะปรับปรุงได้ทุกเวลา

- จะต้องมีความมั่นคงทางอารมนณ์สูงในการเล่นแบดมินตัน

หลักของการมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
สมัยกรีกโบราณเชื่อว่า การแข่งขันจะช่วยสร้างความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาได้ ชาวกรีกเชื่อว่า ใครก็ตามที่เข้าแข่งขันกับคู่ต่อสู้ จะได้รับการยกย่องสูงสุด ดังนั้น การมีน้ำใจเป็นนักกีฬาที่ดีเป็นสิ่งที่ดีมาก ต่อไปนี้ เป็นหลักที่จะทำให้ท่านเข้าร่วมเล่นด้วยความสนุกสนาน และได้รับผลคุ้มค่า คือ

- ใช้อุปกรณ์ที่เชื่อถือได้ และนำลูกขนไก่ของตนเองไปด้วย
- ถ้าไม่มีผู้ตัดสิน ให้รีบขานว่าลูกสั้นทันที เพราะจะมีผลถึงฝ่ายตรงกันข้ามในการที่จะรับลูก และ ตัดสินใจ - พยายามให้ฝ่ายตรงข้ามได้รับประโยชน์ เมื่อมีกรณีสงสัยเกิดขึ้น ขานคะแนนทันที่หลังจากลูกเสีย

ไม่ทำเสียงดังหรือขว้างปาแร็กเก็ต

- ระหว่างการอบอุ่นร่างกาย ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้อบอุ่นร่างกายด้วย เช่นฝึกตีลูกในสนามก่อนแข่งขัน

- หลังจากที่จบการเล่นหรือการฝึก ให้จับมือแสดงความยินดีกับฝ่ายตรงกันข้าม

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบดมินตันคู่ผสมไทยเเพ้พ่ายจีน 2 - 0 เกมส์ ที่ลอนดอนเกมส์ 2012



แบดมินตันผสม เวทีคู่เล่นของกลุ่ม - GRP D - จีน VS ไทย ไทยแพ้จีนไป 2 - 0 เกมส์ จบด้วยสกอร์ 21 - 18 และ 21 - 12 จากสนามกีฬา Wembley ที่ลอนดอน 2012 โอลิมปิกเกมส์ - 30 กรกฎาคม 2012 แบดมินตันผงาดขึ้นมาเป็นกีฬาสาธิตในโอลิมปิกเกมส์ 1972 ในมิวนิก จนกว่าปี 1992 เกมส์ในบาร์เซโลนา รวมอย่างเป็นทางการเมื่อโปรแกรมโอลิมปิกกับผู้ชายและหญิงเดี่ยวและคู่ ส่วนคู่ผสมเปิดตัวในปี 1996 ที่แอตแลนตาโอลิมปิกเกมส์ ตั้งแต่นั้นมายังคงไม่เปลี่ยนแปลง




น้องแต้ว พิมศิริ ศิริแก้ว คว้าเหรียญเงิน จากยกน้ำหนักรุ่น 58 กิลโลกรัม ที่ลอนดอนเกมส์ 2012

         
         กลุ่มยกน้ำหนักหญิง 58kg เหรียญแรกของไทย Gold: Xueying หลี่ (จีน) - Silver: พิมสิริ Sirikaew (ไทยแลนด์) - Bronze: Yuliya Kalina ไฮไลต์ (ยูเครน) ที่ลอนดอนเกมส์ 2012(London Game 2012) โอลิมปิก - 30 กรกฎาคม 2012 
         
         ถึงแม้ว่าน้ำหนักของผู้ชายได้เสมอในโปรแกรมของกีฬาโอลิมปิก - ยกเว้นที่รุ่น 1900, 1908 และ 1912 - หญิงเพิ่งเริ่มที่จะเข้าร่วมเท่านั้นในปี 2,000 เกมส์ในซิดนีย์ โปรแกรมการยกน้ำหนักโอลิมปิกที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไป วันนี้การแข่งขันในยกน้ำหนัก snatch and clean and jerk ของพวกเขาทั้งหมด จากกีฬาโอลิมปิกปี 2000 ในซิดนีย์, ผู้ชายที่มีการแข่งขันกันในแปดประเภทน้ำหนักและหญิงในเจ็ด รวมทั้งสิ้น 15 กิจกรรมนี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง 


        “น้องแต้ว” พิมศิริ ศิริแก้ว คว้าเหรียญเงิน จากยกน้ำหนักรุ่น 58 กิลโลกรัม หญิงได้สำเร็จ 

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รัชนก อินทนนท์ (หญิงเดี่ยว) ชนะ ธิลินี จายาซิง 2 เซตรวด



        รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันสาวไทย หญิงเดี่ยว ประเดิมเอาชนะ ธิลินี จายาซิง จากศรีลังกา 2 เซตรวดด้วยสกอร์ 21-13 และ 21-5

        โดยโปรแกรมนัดสุดท้ายรอบแบ่ง Group.M ของ รัชนก จะพบกับ เทลมา ซานโต๊ส จากโปรตุเกส วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 ตามเวลาไทย 19.42 น. ถ้าหากชนะจะเข้ารอบทันที เรามาร่วมเชียร์กันนะครับ ห้ามพลาด!!!

นักแบดมินตันไทย (ชายคู่) ชนะอินโดนีเซีย 2 เซตรวด





        Badminton Men's Doubles Group Play Stage - Grp B - Indonesia Vs Thailand Full Replay from the Wembley Arena at the London 2012 Olympic Games. 


Indonesia Vs Thailand : นักแบดมินตันไทย (ชายคู่) ไทยเราชนะไปด้วย 2 เกมส์ ด้วยเเต้ม สกอร์ 11 - 21 เเละ 16 - 21 ย้ำกับความดีใจสุดๆ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เชิญชวนชาวไทย ร่วมเชียร์นักแบดมินตันไทยขว้าชัยโอลิมปิก 2012





ค่ำคืนของวันที่ 24 ก.ค. 2555 ทัพนักแบดมินตันไทย ได้เดินทางสู่มหานครลอนดอนเพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันโอลิมปิก(olympic) 2012 ซึ่งในปีนี้ไทยเราได้สิทธิ์ในการเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 6 คน คือ บุญศักดิ์ พลสนะ, รัชนก อินทนนท์, มณีพงศ์ จงจิตร, บดินทร์ อิสระ, สุดเขต ประภากมล และ ร.อ.หญิงสราลีย์ ทุ่งทองคำ โดยมีคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานที่ปรึกษาสมาคมแบดมินตันฯ และในฐานะผู้จัดการทีมชาติไทยชุด ลอนดอนเกมส์ (London Game) ร่วมเดินทางไปด้วย การแข่งขันจะมีขึ้นในระหว่าง วันที่ 27 ก.ค.ถึง 12 ส.ค.2012 นี้


พวกเรามาร่วมพร้อมส่งใจไปช่วยเชียร์ที่ลอนดอน ในการแข่งขัน โอลิมปิก(olympic) 2012 ขอให้ได้เหรียญกลับมากันทั้ง 6 คนเลย ^^ ครับ

History of Badminton in Thailand


      
     พระยานิพัทธ์กุลพงศ์ (ชิน บุนนาค)
  กีฬาแบดมินตัน(Badminton) ได้แพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว มีปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2456 พระยานิพัทธ์กุลพงศ์ (ชิน บุนนาค) เป็นคนไทยรุ่นแรกที่สร้างสนามแบดมินตันให้ลูกหลานเล่นเป็นการออกกำลังในยามว่าง ณ บริเวณบ้านริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา

        ต่อมาหลวงชลาไลยกล เห็นว่าแบดมินตัน(Badminton) เป็นกีฬาที่ดี เหมาะกับคนไทย เล่นได้ทุกเพศทุกวัย จึงสร้างสนามเพิ่มขึ้นอีก และเล่นแบดมินตัน(Badminton)กันเป็นประจำในหมู่ญาติมิตรที่ตำบลสมเด็จเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน กีฬาแบดมินตัน เป็นที่นิยมเล่นกันในราชสำนักของไทยสมัย พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และสนามแบดมินตันในสมัยนั้นเป็นสนามกลางแจ้ง เวลามีลมพัดแรง หรือฝนตกก็เล่นแบดมินตันกันไม่ได้
คุณหลวงประคุณวิชาสนอง ได้จัดให้มีการแข่งขันแบดมินตันในราชวิทยาลัย แข่งขันในประเภทต่าง ๆ ต่อมาการแข่งขันได้แพร่หลายกว้างขวางออกไปอีก มีการแข่งขันประเภทสาม แข่งขันทั้งชายเภทชายสามและหญิงสาม ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันประเภทที่สำคัญที่สุด และประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการเล่นแบดมินตันประเภทสาม
        หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือสหพันธ์รัฐมลายู สามารถเอาชนะทีมชาติของยุโรป จนได้ครองตำแหน่งแชมเปี้ยนประเภททีมชายของโลก หรือโธมัสคัพ สร้างความตื่นเต้นให้แก่ประชาชาติเอเชียอย่างยิ่ง ที่ทีมจากเอเชียสามารถแข่งกีฬาจนเอาชนะชาติใหญ่ ๆ จากชาติตะวันตกได้ ท่ามกลางกระแสดังกล่าว ไทยได้เชิญนักแบดมินตันอันดับโลกของมลายู อาทิ ว่องเปงสูน อองโปหลิม อุยเต็คฮ็อค อิสเมล บิน มาร์จัน ฯลฯ เข้ามาสาธิตการเล่นกีฬาแบดมินตันมาตรฐานสากลในประเทศไทย เริ่มมีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานในร่ม มีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการเล่นแบดมินตันให้ดียิ่งขึ้น แต่การเล่นแบดมินตันของคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังเล่นกันนอกร่ม ต่อมาได้มีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานสากลแห่งแรกภายในบริเวณบ้านซอยพร้อมมิตรของ หลวงธรรมนูญวุฒิกร และ นางอวยพร ปัตตพงศ์ พร้อมทั้งได้เคี่ยวเข็ญฝึกฝนลูกหลานจนกระทั่งนักแบดมินตันไทยมีมาตรฐานการเล่นก้าวเข้าสู่ระดับโลก ลูกศิษย์แบดมินตันของ คุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร มีพื้นฐานการเล่นที่ถูกต้องแน่นแฟ้น และนำพาทีมชาติแบดมินตันโธมัสคัพไทยไปครองตำแหน่งชนะเลิศแห่งเอเชียใน ปี ค.ศ. 1957 เข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ Inter Zone ของโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กีฬาแบดมินตันของไทย ในปี ค.ศ. 1958 ท่านทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนเช้าเย็น ส่งเสริมปลุกปั้นพัฒนานักแบดมินตันไทยหลายคน อาทิ พินิจ ปัตตพงศ์ ประเทือง ปัตตพงศ์ อัจฉรา ปัตตพงศ์ ธนู ขจัดภัย เจริญ วรรธนะสิน บุบผา แก่นทอง สงบ รัตนุสสรณ์ บัณฑิต ใจเย็น ศิลา อุเลา ฯลฯ นักกีฬาเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งนั้น นักแบดมินตันหลายคนของท่านได้เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันออล-อิงแลนด์และครองตำแหน่งตำแหน่งชนะเลิศของโลกในการแข่งขันแบดมินตันนานาชาติจากหลายประเทศ เมื่อ หลวงธรรมนูญวุฒิกร ถึงแก่อนิจกรรม ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันของไทย

         ในปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระราชวงศ์จักรีชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ ได้พระราชทานและประทานพระอุปถัมภ์แก่กีฬาแบดมินตันอย่างเข้มแข็ง ในหลวงทรงเป็นองค์อุปถัมภกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันนั้นและทรงแบดมินตันด้วยพระองค์เอง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา(พระราชศักดิ์ในสมัยนั้น)ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมินตันไทยไปแข่งขัน ออล-อิงแลนด์ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 และที่ต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์สำคัญไม่เฉพาะแต่วงการแบดมินตันเท่านั้น แต่เป็นของวงการกีฬาเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระทานราชทุนการศึกษาส่วนพระองค์ให้แก่นักแบดมินตันทีมชาติไทย 


เจริญ วรรธนะสิน
      เจริญ วรรธนะสิน ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ยังความปลาบปลื้มของวงการกีฬาไทยอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะในยุคนั้นยังไม่มีหน่วยงานกีฬาของรัฐในปีต่อ ๆ มา พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมินตันไทยไปแข่งขันออล-อิงแลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรป พร้อมทั้งทรงประทานกำลังใจด้วยการเสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันอย่างใกล้ชิดทั้งในเอเชียและยุโรป ท่านพระองค์หญิงยังทรงสร้างสนามมาตรฐานขึ้นและก่อตั้งสโมสรแบดมินตันแร็กเก็ตมิวเซียมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 วงการแบดมินตันไทย ได้พัฒนาตัวเองจนเป็นสมาคมกีฬาชั้นนำสมาคมหนึ่งของประเทศไทย เป็นสมาคมกีฬาที่ส่งนักกีฬาไปแข่งขันต่างปรเทศมากที่สุดอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 วงการแบดมินตันเริ่มใช้แนวทางการตลาดสิทธิประโยชน์เข้ามาบริหาร เริ่มระบบการดึงผู้อุปถัมภ์รายการจากต่างประเทศเข้ามาแทนระบบบริจาคช่วยเหลือ เริ่มต้นจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์เซอร์โลกที่มีเงินรางวัลนับล้านบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นการพลิกโฉมวงการแบดมินตันไทยให้ก้าวทันการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของโลก
       กิจกรรมของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะดำเนินมาไกลถึงเพียงนี้ไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาสปอนเซอร์ต่าง ๆ ในต่างประเทศ เช่น โปร-เคนเน็ก โกเซ็น NEC ESPN ยูนิแคล และบริษัทห้างร้านภายในประเทศ เช่น ไทยออยล์ เบียร์สิงห์ เบียร์ช้าง มิตซูบิชิ และ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) ที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนของชาติ ได้ให้การ
สนับสนุนการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันยังคงให้การอุปถัมภ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดการแข่งขันชิงแชมเปี้ยนแบดมินตันประเทศไทย และแบดมินตันกรังด์ปรีซ์เอร์กิตโลก และโครงการ “ ไฟแห่งพุ่มไม้เขียว ” จากปี ค.ศ. 2004-2008
        กีฬาแบดมินตันได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในโปรแกรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ในปี ค.ศ. 1980 ที่เมืองมิวนิค เยอรมนี แต่ไม่ได้รับการบรรจุในทันที เนื่องจากเกิดการแตกแยกในวงการแบดมินตันของโลก จนกระทั่งได้รับการบรรจุอย่างเป็นทางการในบาร์เซโลนาเกมส์ที่สเปนถึงปี ค.ศ. 1992 แบดมิน
ตันได้กลายเป็นกีฬาโอลิมปิคเต็มตัวตั้งแต่นั้นมา
และนักแบดมินตันไทยได้ผ่านรอบควอลิฟายคัดเลือกเข้าสู่สายใหญ่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคทุกครั้ง ล่าสุด 6 นักแบดมินตันไทย เข้ารอบสายใหญ่ ลอนดอนโอลิมปิกเกมส์
ทีมแบดมินตันไทย ไปลอนดอนโอลิมปิกเกมส์
สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) ประกาศผลการจัดอันดับนักแบดมินตันที่ได้รับสิทธิ์ไปแข่งขันแบดมินตันโอลิมปิกเกมส์ โดยมีนักแบดมินตันไทยติดกลุ่ม 6 คนได้ในทุกประเภท ยกเว้นประเภทหญิงคู่ที่ได้แค่สำรองอันดับ 2
       วงการแบดมินตันไทยยังจะพัฒนาไปข้างหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง ตราบใดที่คนบริหารไม่นำพากีฬาแบดมินตันกลายเป็นเกมการเมือง มือสะอาด ไม่เข้ามาหาผลประโยชน์จากวงการ มีจิตวิญญาณที่รักและเห็นประโยชน์ของวงการแบดมินตันเป็นเป้าหมายสูงสุด ถ้าทำอย่างนี้ได้ ความเชื่อถือ ศรัทธา จากผู้ให้ความอุปถัมภ์ ก็จะไม่จืดจางถอยห่างจากวงการแบดมินตันอย่างแน่นอนครับ ^^


วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Origin of the shuttlecock


"Shuttlecock"
ภาพเขียนของจีน ซิมโมน ชาร์แดง (Jean-Baptiste-Simon Chardin )

      มีการค้นพบภาพเขียนของจีน ซิมโมน ชาร์แดง (Jean-Baptiste-Simon Chardin ) จิตรกรชาวฝรั่งเศส เกิดในกรุงปารีส ค.ศ. 1699 และมีอายุถึง 80 ปี เขาตาย ค.ศ. 1779 ภาพวาดของเขาค้นพบประมาณสองร้อยกว่าปีมาแล้ว ภาพนั้นมีชื่อว่า "Shuttlecock" หรือแปลว่า "ลูกขนไก่" จากภาพวาดนี้ทำให้ทราบว่า กีฬาตีลูกขนไก่ได้นิยมเล่นกันมาในยุโรป ภายใต้ชื่ออื่นมาหลายร้อยปีแล้ว ปัจจุบันภาพวาดนี้ตั้งไว้ให้ชมที่ Uffizi Gallery ในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ในภาพนี้ ได้แสดงให้เห็นวัตถุสำคัญ 2 อย่างที่ใช้เป็นเครื่องมือในเกมการเล่นที่เรียกว่า "Battledore and Shuttlecock" อันเป็นต้นกำเนิดของแบดมินตัน ลูกขนไก่ในภาพเขียนนี้ ฐานของลูกขนไก่คล้ายฐานของลูกขนไก่ในปัจจุบันนี้ ส่วนขนค่อนข้างใหญ่มีอยู่ 7 อัน แบ่งเป็นสีต่างๆ 4 สี คือ ขนสีขาว 3 อัน ขนสีน้ำเงิน 2 อัน ขนสีแดงอ่อน 1 อัน และขนสีน้ำตาลไหม้ปนเหลืองอีก 1 อัน ลักษณะของขนไก่ดังกล่าวนี้ ไม่แน่ใจว่าเป็นลักษณะของขนไก่ที่ใช้จริงหรือไม่ อาจเป็นจินตนาการของผู้เขียนภาพตกแต่งขึ้นก็ได้ และนอกจากนี้ขนเหล่านี้ยังไม่มีด้ายผูกร้อย เพราะฉะนั้นเวลาตีลูกทำให้ลูกแกว่งมาก สำหรับแร็กเก็ตนี้ มีลักษณะเทอะทะ ดูไม่ต่างจากแร็กเก็ตเทนนิสที่ใช้กันอยู่ในสมัยนั้นนัก โดยเฉพาะส่วนหัวแร็กเก็ตมีขนาดใหญ่โตมาก และหุ้มด้วยหนังสีแดงอย่างหนาแน่น เอ็นที่ร้อยกับแร็กเก็ตอยู่ในลักษณะค่อนข้างยาน มีเส้นตรงเพียง 7 แถว และเส้นขวาง 12 แถว ด้ามยาวมีวัตุสีขาวหุ้มพันอยู่จนถึงส่วนคอ ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นเครื่องยึดให้วงขอบแร็กเก็ตคงรูปอยู่ได้ อีกภาพเป็นภาพของจิตรกรชาวเดนมาร์ก ชื่อ เจคอบ มุนซ์ วาดเมื่อปี ค.ศ. 1813 และมอบให้สถาบันประวัติศาสตร์ แห่งอิดสโวลด์ ประเทศนอร์เวย์ เพื่อฉลองวันประกาศอิสรภาพของประเทศนั้น เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1814 ในภาพ คือ มกุฎราชกุมารเจ้าชายเฟรดเดอริค แห่งเดนมาร์ก กำลังเล่นเกมแบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่ และในปี ค.ศ. 1848 เจ้าฟ้าชายเฟรดเดอริค ได้ครองราชบัลลังก์ของเดนมาร์ก ในนามของพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ภาพนี้วาดในพระราชอุทยานเบิร์นดอร์ฟส์ เมื่อประมาณ 160 ปีมาแล้ว เป็นการยืนยันว่าได้มีการเล่นแบดมินตันภายใต้ชื่ออื่นในยุโรปสมัยนั้น เล่นกันโดยไม่แบ่งเขตแดน ไม่มีตาข่าย ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายช่วยกันพยุงไม่ให้ลูกตกดิน


เป็นยังไงกันบ้างครับได้รู้ความเป็นมาของลูกขนไก่ ตกใจกันบ้างรึป่าว หรือว่าแอบสงสัยแทน ^^ 

ประวัติความเป็นมาของแบดมินตัน

                                           



กีฬาแบดมินตัน(Badminton) มีการเริ่มเล่นที่เมืองปูนา (Poona) ประเทศอินเดีย โดยเล่นบนสนามหญ้า การเล่นครั้งแรกๆ ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกบอล ทำด้วยสักหลาด ไม้ตีทำด้วยไม้แต่เอากระดาษมาหุ้ม แทนการตึงด้วนเอ็นอย่างปัจจุบัน สนามก็มีลักษณะเหมือนนาฬิกาทราย คือไม่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่จะเว้าตรงกลาง การเล่นประเภทเดี่ยวยังไม่มี ตามธรรมดาในขณะนั้นการนิยมเล่นข้างหนึ่งไม่น้อยกว่า 4 คน หรือมากกว่านั้น ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1873 ทหารอังกฤษที่ไปรบที่ประเทศอินเดีย ได้นำเอาวิธีการเล่นนี้ไปเล่น ที่ประเทศอังกฤษ ณ คฤหาสน์ ชื่อ แบดมินตันเฮาส์ (Badminton House) ของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ด (Duke of Beaufort) เป็นคฤหาสน์ที่ใหญ่โตกว้างขวาง มีเนื้อที่ถึง 10 ไมล์ ต่อ ๆ มาการเล่นแบบนี้เลยได้ชื่อว่า "แบดมินตัน" ตามชื่อคฤหาสน์ดังกล่าวตั้งแต่นั้นมา...กีฬาแบดมินตัน เริ่มแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรป อเมริกา และเอเชีย อย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ.1893 ประเทศอังกฤษได้ก่อตั้งสมาคมแบดมินตันขึ้น เรียกว่า "สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ" ทางสมาคมได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้น คือใช้ขนาดกว้าง 22 ฟุต และยาว 44 ฟุต ซึ่งเป็นสนามมาตรฐานประเภทคู่ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ตั้งแต่นั้นมา ก็มีการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณ์การเล่นให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ในที่สุดก็มีไม้ตีที่มีเอ็นขึง อย่างปัจจุบัน และลูกขึ้นไก่ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1900 ต่อมาก็ได้รับความนิยมแพร่หลายมาทาง ประเทศอาคเนย์ ประเทศต่างๆ ที่นิยมเล่นแบดมินตันมาก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในปี ค.ศ. 1934 สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ และสมาคมแบดมินตันแห่งอื่นๆ อีก 8 ประเทศ ได้ก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติขึ้น มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ทางสหพันธ์ ได้ร่างกติกา และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ขึ้น ปัจจุบันนี้มีสมาชิกมากกว่า 60 ประเทศ
ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหพันธ์ในปลายเดือนมีนาคม 1951 ประธานสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติคนแรก คือ เซอร์ ยอร์จ โธมัส (Sir George Thomas) เขาเป็นนักแบดมินตันฝีมือดีของอังกฤษ และได้บริจาคถ้วยโธมัส (Thomas Cup) ทำด้วยทองราคาห้าพันปอนด์ สำหรับผู้ชนะเลิศในการแข่งขัน ชนะเลิศนานาชาติในปี ค.ศ. 1936 แต่ไม่มีการแข่งขัน เพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งสงครามยุติ
การแข่งขันชิงถ้วยโธมัสครั้งแรกเริ่มในปี ค.ศ. 1948 ถึง ค.ศ. 1949 นอกจากถ้วยโธมัสแล้ว ยังมีการแข่งขันถ้วยอูเบอร์ (Uber Cup) ซึ่งเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศนานาชาติ สำหรับสตรี โดย มิซซิส เอส อูเบอร์ เป็นผู้บริจาคถ้วย เธอเป็นอดีตนักแบดมินตันหญิงทีมชาติของอังกฤษ การแข่งขันนี้เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1950


กีฬาแบดมินตัน(Badminton)ได้แพร่หลายขึ้น แม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่น    เเบดมินตันอย่างกว้างขวางและมีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ใน การแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์ (ซีเกมส์ในปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักภพสหราชอาณาจักร รวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบดมินตัน (BADMINTON)



แบดมินตัน (BADMINTON) แบดมินตันเป็นกีฬาที่มีผู้นิยมเล่นมากทั้งชายและหญิง ใครก็สามารถเล่นได้ โดยการตีลูกขนไก่ ให้ข้ามตาข่ายไปมาในสนามแบดมินตันเท่านั้นเองนี้ก็อยู่ในขั้นพื้นฐานการเล่นแบดมินตัน แต่ถ้าจะเล่นให้เก่งจะต้องมีความสนใจจริงๆ และตั้งใจฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ(ย้ำ) เท่านั้นก็จะบรรลุความสำเร็จตามที่มุ่งหวังได้ แบดมินตัน (BADMINTON) สามารถเล่นได้ตลอดเวลา เป็นกีฬาที่เล่นได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม เช่น โรงฝึกพลศึกษา ถ้าเล่นกลางแจ้ง ต้องใช้ลูกขนไก่ที่มีน้ำหนักมากเป็นพิเศษ เพราะสามารถฝ่ากระแสลมได้ ส่วนการเล่นแบดมินตันในเวลากลางคืน จะต้องใช้แสงสว่างพอสมควร และต้องจัดให้ถูกต้องเหมาะสม โดยต้องเลือกดูว่าจะจัดไว้ที่ใดบ้าง จึงจะมีแสงสว่างและไม่ขัดกับการเล่น แบดมินตัน (BADMINTON) จะทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เพราะได้พบปะกับบุคคลหลายๆ ฝ่าย ทำให้เป็นผู้ที่มีสังคมดี ทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีพลานามัยดี และเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่งด้วย เป็นยังไงกันบ้างครับแค่พูดถึง แบดมินตัน (BADMINTON) ก็อยากจะเล่นแล้วใช่ไหม? งั้นเราก็มาเล่นกันครับ ^^